top of page


            องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) มีพัฒนาการมาจากข้อตกลงว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าหรือแกตต์ (General Agreement on Tariffs and Trade : GATT) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2538 โดยมีองค์กรสูงสุดในการตัดสินใจคือระดับรัฐมนตรี (Ministerial Conference) ซึ่งกำหนดให้มีการประชุมทุก ๆ 2 ปี
                 การประชุมครั้งแรกมีขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 9-13 ธันวาคม 2539 ครั้งที่ 2 มีขึ้น ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 18-20 พฤษภาคม 2541 ครั้งที่ 3 มีขึ้น ณ เมืองซีแอตเติล ประเทศสหรัฐอเมริกา วันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 ครั้งที่ 4 มีขึ้น ณ กรุงโดฮา ประเทศการ์ตา ระหว่างวันที่ 9 -13 พฤศจิกายน 2544 ครั้งที่ 5 มีขึ้น ณ เมืองแคนคูน ประเทศเม็กซิโก ระหว่างวันที่ 10-14 กันยายน 2546 และครั้งที่ 6 ณ ฮ่องกง ระหว่างวันที่ 13-18 ธันวาคม 2548
           


          การประชุมครั้งแรกมีขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 9-13 ธันวาคม 2539
             ครั้งที่ 2 มีขึ้น ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 18-20 พฤษภาคม       2541                                                                                                                       
            ครั้งที่ 3 มีขึ้น ณ เมืองซีแอตเติล ประเทศสหรัฐอเมริกา วันที่ 30 พฤศจิกายน 2542
            ครั้งที่ 4 มีขึ้น ณ กรุงโดฮา ประเทศการ์ตา ระหว่างวันที่ 9 -13 พฤศจิกายน 2544
            ครั้งที่ 5 มีขึ้น ณ เมืองแคนคูน ประเทศเม็กซิโก ระหว่างวันที่ 10-14 กันยายน 2546
            ครั้งที่ 6 ณ ฮ่องกง ระหว่างวันที่ 13-18 ธันวาคม 2548         

 

            ณ เดือนมกราคม 2549 WTO มีสมาชิกทั้งสิ้น 150 ประเทศ (ประเทศสมาชิกลำดับที่ 150 คือ ตองกาซึ่งจะเสร็จสิ้นการดำเนินกระบวนการภายในเพื่อเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคม 2549) โดยไทยเป็นสมาชิกลำดับที่ 59 และมีสถานะเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง นอกจากนี้ยังมีประเทศ ซึ่งอยู่ระหว่างกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก เช่น รัสเซีย เวียดนาม และลาว เป็นต้น

องค์การการค้าโลก (World Trade Organization)

ผลประโยชน์ที่ไทยได้รับ

       1.มีหลักประกันทางการค้าระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพราะข้อผูกพันที่มีต่อกัน ถ้ามีการละเมิดเกิดขึ้น ประเทศนั้นจะต้องเจรจาและชดใช้ให้กับประเทศที่เสียหาย

        2.ได้รับผละประโยชน์ตามสิทธิและสิทธิพิเศษ ไทยได้สิทธิพิเศษรวมทั้งข้อปฎิบัติที่แกตต์และองค์การการค้าโลกกำหนดให้แก่ประเทศที่กำลังพัฒนา ไทยก็เป็นประเทศที่กำลังพัฒนาประเทศหนึ่งจึงรวมอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย
         3.ได้ขยายการค้า การลดหย่อนภาษีนำเข้าและระเบียบพิธีศุลกากรทำให้ไทยส่งสินค้าออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้มากขึ้น          

         4.ได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการ เช่น การส่งเจ้าหน้าที่เข้าฝึกอบรมทางการค้า การได้รับข้อมูลเอกสารและข้อสนเทศต่างๆทางการค้าระหว่างประเทศ

        5.มีเวทีสำหรับร้องเรียน เป็นองค์กรกลางในการร้องเรียนและเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงสมาชิกในอาเซียนและสมาชิกในภาคีอื่นๆที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน เพื่อให้มีอำนาจการต่อรองสูงขึ้น


 

bottom of page