ENDORSEMENTS
สงครามเย็น ( Cold War ค.ศ. 1945-1991)
สงครามเย็นเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์โลกยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของชาติมหาอำนาจ ส่งผลกระทบต่อภูมิภาคต่างๆของโลก ทำให้ตกในสภาวะตึงเครียดนานถึง 45 ปี
1.3.1 สาเหตุของสงครามเย็น
สงครามเย็นมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางการเมืองของประเทศมหาอำนาจทั้งสอง คือ สหรัฐอเมริกาแบบประชาธิปไตย และสหภาพโซเวียตแบบคอมมิวนิสต์ ที่ยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ
สาเหตุมีหลายประการได้แก่
1) การเปลี่ยนแปลงดุลทางอำนาจโลก สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ทำลายสถานะทางอำนาจของมหาอำนาจดั้งเดิม
2) อุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน สหรัฐอเมริกา ยึดหลักประชาธิปไตย โดยให้ความสำคัญกับการเมืองแบบเสรีนิยม สหภาพโซเวียตยึดถืออุดมการณ์สังคมนิยมมาร์กซิสต์ในการปกครองประเทศ
3) ตวามขัดแย้งของผู้นำชาติอภิมหาอำนาจ ประธานาธิปดีของสหรัฐอเมริกามีนโยบายต่างประเทศที่แข็งกร้าว นายกของอังกฤษซึ่งเป็นชาติพันธมิตรได้มีท่าทีต่อต้านสหภาพโซเวียตด้วยเช่นกัน ในขณะเดียวกันผู้นำของสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นผู้นำเผด็จการ มีนโยบายกวางล้างและควบคุมการเมืองภายในอย่างเข้มงวด
วินสตัน เชอร์ชิล นายกประเทศอังกฤษ
แฮรี่ ทรูเเมน ประธานาธิปดีของสหรัฐอเมริกา
โจเซฟ สตาลิน ผู้นำโซเวียต
1.3.2 ปัญหาความขัดแย้งในสงครามเย็น
ประเทศต่างๆได้แตกออกเป็น 2 ค่าย คือค่ายเสรีประชาธิปไตยภายใต้การนำของสหรัฐอเมิรกา กับค่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ภายใต้การนำของสหภาพโซเวียต สงครามในระยะนี้จึงไม่ใช่การต่อสู้ระหว่างชาติมหาอำนาจ แต่เป็นสงครามตัวแทน ที่ประเทศเล็กๆหรือกลุ่มการเมืองต่างค่ายต่อสู้กันโดยมีชาติมหาอำนาจคอยสนับสนุน
1.3.3 กรณีความขัดแย้งของชาติมหาอำนาจ
1) ความขัดแย้งในยุโรป
- กรณีปัญหาในยุโรปตะวันออก กองทัพสหภาพโซเวียตได้เคลื่อนทัพมาปลดปล่อยประเทศต่างๆจากการยึดครองของกองทัพเยอรมัน
- กรณีปัญหาเรื่องประเทศเยอรมนี กรุงเบอร์ลินได้ถูกแบ่งแยกโดยชาติมหาอำนาจทั้ง 4
ค่าปฏิกรรมสงครามเป็นประเด็นเนื่องจากสหภาพโซเวียตได้เรียกร้องจากเยอรมนีเป็นจำนวนมาก แต่สหรัฐอเมริกาพยายามบ่ายเบี่ยงทำให้สหภาพโซเวียตไม่พอใจ
ความขัดแย้งมาถึงจุดสูงสุดในกลาง ค.ศ. 1948 เมื่อสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศสปฏิรูปเงินตราในเขตยึดครองของตนเองเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มั่นคง ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่สหภาพโซเวียตมาก สหภาพโซเวียตจึงปิดล้อมกรุงเบอร์ลิน บีบให้มหาอำนาจตะวันตกละทิ้งเบอร์ลินตะวันตก แต่ในกลาง ค.ศ. 1949 สหภาพโซเวียตได้ยุติการปิดล้อมเบอร์ลิน แต่ความขัดแข้งระหว่างสองฝ่ายก็ยังดำเนินต่อ
ในช่วงเวลาขัดแย้งเยอมนีตะวันออกได้พัฒนาเศรษฐกิจจนมั่งคั่ง ทำให้ชาวเยอรมันมีการหลบหนีไปยังตะวันออกจำนวนมาก รัฐบาลเยอรมันตะวันออกจึงสร้างกำแพงเบอร์ลิน จึงเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็นจนกระทั่ง ค.ศ. 1989 รัฐบาลใหม่ที่ปกครองเยอรมนีตะวันออกได้มีนโยบายเสรีนิยมได้ประกาศเปิดพรมแดนตะวันออกและตะวันตด จึงทำลายกำแพงเบอร์ลินเมื่อ ค.ศ. 1990 และรวมประเทศเมื่อ ค.ศ. 1991
2) กรณีความขัดแย้งในทวีปเอเชีย ต้นกำเนิดของสงครามเย็นในทวีปเอเชียคือ ปัญหาเรื่องการยึดครองญี่ปุ่น ปัญหาความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตเกี่ยวกับญี่ปุ่นมีอยู่ด้วยกัน 2 กรณีคือ ค่าปฏิกรรมสงคราม ซึ่งสหภาพโซเวียตได้เรียกร้องจากญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก แต่สหรัฐอเมริกาพยายามบ่ายเบี่ยง อีกกรณีคือ การทำสนธิสัญญากับญี่ปุ่น ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นไม่ตรงกัน
1.3.4 ภาวะสงครามเย็น
หลังจาก ค.ศ. 1948 โลกก็เข้าสู่ภาวะสงครามเย็นอย่างแท้จริง ทุกภูมิภาคของโลกถูกครอบงำด้วยการแข่งขันด้านอุดมการณ์ทางการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ นอกจากนี้ประเทศอภิมหาอำนาจทั้งสองยังสนับสนุนให้สนับสนุนให้ประเทศบริวารทำการสู้รบกันเองเพื่อแผ่ขยายอิทธิพลของตน
1. ภูมิภาคยุโรป
ประเทศต่างๆ ในยูโรปแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายยุโรปตะวันออกกลายเป็นประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ภายใต้การควบคุมของสหภาพโซเวียต ยกเว้นประเทศยูโกสลาเวียที่เป็นประเทศคอมมิวนิสต์ที่ต่อต้านสหภาพโซเวียตและติดต่อกับชาติตะวันตก ส่วนอีกด้านคือประเทศยุโรปตะวันตกที่เผยแพร่ข่าวสารความเจริญรุ่งเรืองและสิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน ก่อให้เกิดการต่อสู้เพื่อเสรีภาพของประชาชนในประเทศยุโรปตะวันออก
2. ภูมิภาคเอเชีย
- สงครามเกาหลี (ค.ศ. 1950-1953) เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในคาบสมุทรเกาหลีหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ซึ่งญี่ปุ่นได้ครอบครองคาบสมุทรเกาหลีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1910 เมื่อญี่ปุ่นเป็นผู้แพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 องค์การสหประชาชาติจึงกำหนดให้เส้นขนานที่ 38 องศาเหนือ เป็นแนวแบ่ง โดยกำหนดให้สหภาพโซเวียตปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในดินแดนเหนือเส้นขนาน และให้สหรัฐอเมริกาปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยในดินแดนใต้เส้นขนาน
ในด้านการสงครามทำให้เกาหลีต้องถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศ และโอกาสที่จะรวมเป็นประเทศเดียวกันยิ่งห่างไกลมากขึ้น
- กรณีขัดแย้งเรื่องเกาะไต้หวัน (ค.ศ. 1950-ปัจจุบัน) ใน ค.ศ. 1949 กองทัพจีนคอมมิวนิสต์ ภายใต้การนำของเหมา เจ๋อตุง (Mao Zedong ค.ศ. 1893-1976) ได้ยึดครองประเทศจีนและตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้น ส่วนจอมพลเจียง ไคเชก (Chiang Kaishek ค.ศ. 1887-1975) และพรรคชาตินิยมรวมทั้งประชาชนบางส่วนได้อพยพไปตั้งสาธาณรัฐจีนบนเกาะไต้หวัน ต่อมา ค.ศ. 1954 รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์มีนโยบายรวมเกาะไต้หวันเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของจีน ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องส่งกองทัพเรือเข้ามาลาดตระเวนบริเวณช่องแคบไต้หวัน จีนจึงระดมยิงเกาะคีมอยและเกามัทสุ ทำให้สหรัฐอเมริกาลงนามในสนธิสัญญาพันธมิตรทางทหารกับไต้หวัน ทางด้านรัฐบาลจีนก็ได้ลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพพันธมิตรและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันกับสหภาพโซเวียต กรณีไต้หวันจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สหรัฐอเมริกาใช้นโยบายปิดลัทธิคอมมิวนิสต์ (Containment Policy)
จอมพลเจียง ไคเชก
3. กลุ่มประเทศละตินอเมริกา
เกิดวิกฤตการณ์คิวบา ซึ่งเป็นเหตุการณ์การเผชิญหน้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต เหตุการณ์ดังกล่าวเกือบนำไปสู่สงครามนิวเคลียร์ระหว่างชาติมหาอำนาจทั้งสอง
1.3.5 การผ่อนคลายความตึงเครียด
ความเปลี่ยนแปลงของภาวะสงครามเย็น เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในประเทศอภิมหาอำนาจเมื่อมีการประกาศนโยบายการอยู่ร่วมกันโดยสันติ ซึ่งมีหลักการว่าฝ่ายเสรีนิยมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติกับฝ่ายสังคมนิยม ไม่จำเป็นต้องแข่งขันกันทำสงคราม แต่อาจแข่งขันในด้านอื่น เช่น อุดมการณ์ เศรษฐกิจ
ส่วนสหรัฐอเมริกาก็หวั่นเกรงภายจากนิวเคลียร์ และประจักษ์ว่านโยบายปิดล้อม
ประเทศคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะกับสาธารณรัฐประชาชนจีนไม่ได้ผล ประกอบกับได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเทศสังคมนิยมมากขึ้น เลยเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศใหม่จากการทหารเปานการทูต และได้ดำเนินนโยบายสร้างความสัมพันธ์กับสหภาพโซเวียต ซึ่งสหภาพโซเวียตก็ได้ตอบรับเช่นกัน นอกจากนี้ยังได้เปิดความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วยการผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น การเจรจาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต เพื่อลดความระแวงระหว่างกัน แต่อย่างไรก็ตามสัมพันธ์ของประเทศมหาอำนาจได้เสื่อมลงเมื่อสหภาพโซเวียตขยายอิทธิพลไปยังประเทศต่างๆและเข้าแทรกแทรงการเมืองในอัฟกานิสถานใน ค.ศ. 1979
1.3.6 การสิ้นสุดสงครามเย็น
สงครามเย็นยุติลงเมื่อใดยังเป็นปัญหาที่มีการอภิปรายกัน แต่ก็คงมีความคิดต่างกันเป็น 2 แนว คือ แนวทางหนึ่งถือว่าสงครามเย็นสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1989 เมื่อเยอรมนีช่วยกันทำลายกำแพงเบอร์ลินซึ่งถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็น ส่วนอีกแนวทางหนึ่งถือว่าการล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1991 เป็นจุดสิ้นสุดสงครามเย็น เนื่องจากทำให้โลกเหลือเพียงสหรัฐอเมริกาเป็นเพียงชาติอภิมหาอำนาจชาติเดียว และการแข่งขันกันทางอุดมการณ์ก็ยุติลง ซึ่งทั้ง 2 แนวคิดต่างก็มีเหตุผลที่ดีในการสนับสนุน
ไม่ว่าจะถือว่าเหตุการณ์ใดเป็นการสิ้นสุดของสงครามเย็น แต่ผลสำคัญของการสิ้นสุดของ สงครามเย็นซึ่งดำเนินมาหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ การทำให้การเมืองโลกที่เคยตึงเครียดมาเป็นเวลากว่า 50 ปีผ่อนคลายลงอย่างมาก พร้อมกันนั้นก็เกิดความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างโลกค่ายประชาธิปไตยกับรัสเซียซึ่งเป็นสาธารณรัฐแกนนำของสหภาพโซเวียตเดิม รวมทั้งสาธารณรัฐใหม่ที่แยกตัวเป็นอิสระจากสหภาพโซเวียต
นอกจากนั้นสงครามตัวแทนที่เคยเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความตึงเครียดทางการเมืองโลกก็จบลงไปด้วย ในช่วงทศวรรษสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ลัทธิคอมมิวนิสต์ที่เคยเป็นอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมืองที่มีอิทธิพลเหนือเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรโลก และเป็นลัทธิที่ประชากรในค่ายโลกเสรีเคยวิตกหวาดกลัวดูเหมือนจะพ่ายแพ้ภัยตนเอง ทำให้ประเทศซึ่งเดิมเคยใช้ระบอบคอมมิวนิสต์เป็นแนวทางหลักในการเมืองและเศรษฐกิจของตนเปลี่ยนมารับแนวปฏิบัติแบบเสรีนิยมประชาธิปไตยเป็นจำนวนมาก
กำแพงเบอร์ลินซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็น แบ่งแยกระหว่างเสรีประชาธิปไตยกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้ถูกประชาชนทำลายลงใน ค.ศ. 1990 ซึ่งมีความหมายว่า สภาวะวงครามเย็นได้ถึงกาลอวสานแล้ว
ส่วนของกำเเพงเบอลินที่เหลือในปัจจุบัน






